ครั้งหนึ่งในการพูดคุยเพื่อสันติภาพ เมื่อจบกระบวนการพูดคุยแล้ว ฝ่าย BRN.ได้เชิญฝ่ายไทยเข้าห้องพิเศษ ห้องนี้ไม่มีผู้สื่อข่าว เข้าได้เฉพาะบุคคลผู้เป็นแกนสำคัญเท่านั้น จากนั้นก็เริ่มเล่นละครให้คณะไทยดู ด้วยนิยายประวัติศาสตร์ที่แต่งขึ้นใหม่ พูดไปร้องไห้ไป คณะฯฝ่ายไทยต้องทนฟังจนจบ ครั้งต่อไป...ฝ่ายเราแค่เอาข่าว “ศาลมาเลย์ยกฟ้อง 3 มือระเบิด บททดสอบความร่วมมือไทย-มาเลเซียดับไฟใต้” นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษแจกผู้สื่อข่าวต่างประเทศเมื่อพูดคุยจบเท่านั้นแล้วบอกว่าเท็จ-จริงท่านต้องหาเอง แต่อย่าไปถามรัฐบาลมาเลเซียเท่านั้น...ไม่มีประโยชน์! |
(เนื้อข่าว)
ศาลมาเลย์ยกฟ้อง 3 มือระเบิด บททดสอบความร่วมมือไทย-มาเลเซียดับไฟใต้
เผยแพร่: 11 ส.ค. 2555
นูรยา เก็บบุญเกิด
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)
แม้มีการคาดการณ์หรือกล่าวหากันอยู่บ่อยครั้งว่า ขบวนการต่อต้านรัฐในภาคใต้ของไทยใช้มาเลเซียเป็นฐานในการวางแผนก่อเหตุรุนแรง แต่ก็ยังไม่มีการจับกุมกันอย่างคาหนังคาเขา ตราบจนกระทั่งในปี 2552 ที่ตำรวจมาเลเซียได้เข้ารวบตัวชายมุสลิม 3 คนจากนราธิวาสได้ที่บ้านพักแห่งหนึ่งใกล้ชายแดนไทย – มาเลเซีย
นายมูฮัมหมัดซิดี อาลี (ซ้าย) นายมามะคอยรี สือแม (กลาง) และ นายมะยูไน เจ๊ะดอเลาะ (ขวา)
อุปกรณ์บางส่วนที่พบขณะตำรวจมาเลเซียเข้าตรวจค้นในบ้านเช่าในรัฐกลันตันในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 ซึ่งอดีตจำเลยคดีระเบิดทั้งสามคนอยู่ในบ้านหลังดังกล่าว
หมายเลข 1) กระสุนปืนขนาด.38 2) กล่องเหล็ก 3) ไดนาไมค์ 4) โทรศัพท์มือถือ 5) พาวเวอร์เจล และ 6) แอมโมเนียมไนเตรท
การดำเนินคดีกับทั้งสามคนเป็นประเด็นที่น่าจับตามอง เพราะจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียในการร่วมมือกับดับไฟใต้ได้อย่างดี
คดีนี้เริ่มต้นจากเหตุการณ์ในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกรมสอบสวนอาชญากรรมในรัฐกลันตัน (Kelantan Criminal Investigation Department) บุกเข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องสงสัยที่คาดว่ามีสารเสพติดในครอบครองภายในบ้านเช่าในหมู่บ้านเกเบง อำเภอปาเซร์มัส ประเทศมาเลเซียพร้อมสื่อมวลชน แต่เมื่อเข้าจับกุมกลับพบอุปกรณ์ประกอบระเบิดจำนวนมาก ได้แก่ ไดนาไมต์จำนวน 160 แท่ง กล่องโลหะ ถังดับเพลิง สารแอมโมเนียมไนเตรท โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์รีโมทคอนโทรล และกระสุนกว่า 248 นัด
ชายมุสลิมสัญชาติไทยทั้ง 3 คนที่อยู่ในบ้านหลังนั้น คือ นายมามะคอยรี สือแม นายมูฮัมหมัดซิดี อาลี และนายมะยูไน เจ๊ะดอเลาะ ทั้ง 3 คนถูกศาลมาเลเซียตัดสินลงโทษจำคุก 10 เดือนและโบย 3 ครั้งในข้อหาหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย จากนั้นก็ถูกดำเนินคดีฐานมีเครื่องกระสุนและวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง ซึ่งเป็นคดีที่ทางการไทยเฝ้าติดตามมาโดยตลอด
ผู้ต้องหาคดีนี้เป็นใคร
นายมามะคอยรี เป็นผู้ต้องหา 1 ใน 7 คนที่ถูกจับกุมในโรงเรียนอิสลามบูรพา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2550 หลังเจ้าหน้าที่บุกเข้าตรวจค้นโรงเรียนและพบอุปกรณ์ประกอบระเบิดจำนวนมาก
ต่อมาระหว่างถูกคุมขัง มามะคอยรีได้แจ้งเจ้าหน้าที่เรือนจำว่า ตนเองป่วยและขอไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ แม้ว่าเขาจะถูกล่ามโซ่ไว้กับเตียงคนไข้ในโรงพยาบาล แต่มามะคอยรีก็ยังสามารถหาวิธีหลบหนีไปได้สำเร็จ ชื่อของเขาก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง เมื่อถูกตำรวจมาเลเซียจับกุมตัวที่บ้านเช่าหลังนั้น
ในขณะที่มามะคอยรีถูกควบคุมตัวและถูกศาลมาเลเซียพิจารณาคดีอยู่นั้น จำเลยอีก 6 คนที่ถูกจับกุมพร้อมกับเขาที่โรงเรียนอิสลามบูรพาได้ถูกศาลจังหวัดนราธิวาสพิพากษาลงโทษประหารชีวิตไป 5 คน ส่วนอีกหนึ่งคนให้จำคุก 27 ปี โดยข้อหาที่ร้ายแรงที่สุดคือความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายและเป็นซ่องโจร โดยศาลเห็นว่าเป็นการกระทำที่ “เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม” หากนายมามะคอยรีถูกนำตัวกลับมายังประเทศไทยก็จะต้องถูกดำเนินคดีเช่นกัน
ส่วนนายมูฮัมหมัดซิดี เคยถูกออกหมายจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548) ข้อมูลของตำรวจระบุว่า เขาเป็นมือระเบิดในพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ส่วนนายมะยูไนไม่พบประวัติในฐานข้อมูล
คำพิพากษาของศาลมาเลเซีย
หลังจากทั้ง 3 คนถูกตำรวจมาเลเซียจับกุม วันที่ 27 ธันวาคม 2552 ทางการมาเลเซียได้นำผู้ต้องหาทั้ง 3 คนไปยังศาลแผนกคดีอาญา ศาสปาเสมัส อ.ปาเสมัส รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซียเพื่อทำการไต่สวน แต่ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลจึงเลื่อนการไต่สวนออกไป
การพิจารณาคดีว่างเว้นไปนาน จนกระทั่งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 ศาลมาเลเซียจึงได้ทำการไต่สวนและตัดสินว่า ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะระบุได้ว่า นายมูฮัมหมัดซิดีและนายมะยูไนมีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครองวัตถุระเบิดศาลจึงมีคำสั่งให้ปล่อยตัวจำเลย 2 คนในชั้นของการไต่สวน โดยให้เหตุผลว่า อัยการไม่สามารถที่จะหาหลักฐานเบื้องต้นมาชี้มูลผูกมัดจำเลยทั้งสองได้ จำเลยเพียงมาเยี่ยมเยียนเพื่อนเท่านั้น
ในเอกสารของทางการไทยที่บันทึกคำสั่งศาลปาเสมัสในวันนั้น ระบุว่า เจ้าของบ้านได้ให้การว่า จำหน้าจำเลยสองคนนี้ไม่ได้ และจำเลยให้การว่ามาเยี่ยมเพียงหนึ่งวันและจะเดินทางกลับ นอกจากนี้ของกลางได้ถูกเก็บไว้ที่ใต้ถุนบันไดและหลังประตูในห้องของบ้านหลังดังกล่าว ซึ่งแขกคงจะไม่ได้เข้าไปในบริเวณนั้นซึ่งอยู่ลึกเข้าไป
คดีนี้จึงมีมามะคอยรีคนเดียวที่เป็นจำเลย โดยในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 ศาลสูงโกตาบารูได้พิพากษาให้ยกฟ้อง โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของไทยที่ไปนั่งฟังคำพิพากษาด้วย เล่าว่า นายมามะคอยรีอ้างกับศาลว่า เหตุที่ตนหลบหนีออกจากโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ และเดินทางเข้าไปยังประเทศมาเลเซียนั้น ก็เนื่องจากมีอาการปวดหลังและปวดท้องจากการถูกซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ของไทย และได้มาพักอาศัยที่บ้านเพื่อนในมาเลเซีย ซึ่งเพื่อนคนดังกล่าวเป็นบ้านของนายอัมรานซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ยิงเสียชีวิตที่ จ.นราธิวาสไปก่อนหน้านี้ ศาลเห็นว่านายมามะคอยรีเพียงมาอาศัยพักพิงและไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัตถุระเบิดและอาวุธที่พบในบ้านดังกล่าว
เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของไทย ระบุว่าคำพิพากษานี้ทำให้ทางการไทย “ผิดหวังมาก” หากจำเลยทั้งสามได้รับการลงโทษ ก็จะแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนที่จะไม่สนับสนุนและให้ที่พักพิงแก่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงที่หลบหนีเข้าไปยังมาเลเซีย ซึ่งน่าจะส่งผลโดยตรงต่อการปฏิบัติการของกลุ่มที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ในชายแดนใต้
เจ้าหน้าที่คนเดิม ชี้ว่า การดำเนินการในเรื่องนี้ ทางมาเลเซียเองจะต้องดูประเด็นเรื่องการเมืองภายในประเทศด้วย เพราะว่าทั้งพรรค UMNO ซึ่งคุมรัฐบาลกลางอยู่และพรรค PAS ซึ่งคุมรัฐบาลท้องถิ่นในรัฐกลันตัน ต่างก็ต้องการแย่งฐานคะแนนเสียงของคนมุสลิม และไม่ต้องการที่จะดำเนินการใดๆ ที่มีความเสี่ยงที่จะกระทบต่อฐานเสียงของตัวเองได้ คนมลายูในภาคใต้ของไทยกับตอนเหนือของมาเลเซียมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติและร่วมชาติพันธุ์กัน ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่จะช่วยเหลือกัน คนมาเลเซียมองว่า การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชไม่ใช่การก่อการร้าย
อุปกรณ์บางส่วนที่พบขณะตำรวจมาเลเซียเข้าตรวจค้นในบ้านเช่าในรัฐกลันตันในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 ซึ่งอดีตจำเลยคดีระเบิดทั้งสามคนอยู่ในบ้านหลังดังกล่าว หมายเลข 1) กระสุนปืนขนาด.38 2) กล่องเหล็ก 3) ไดนาไมค์ 4) โทรศัพท์มือถือ 5) พาวเวอร์เจล และ 6) แอมโมเนียมไนเตรท
อุปกรณ์บางส่วนที่พบขณะตำรวจมาเลเซียเข้าตรวจค้นในบ้านเช่าในรัฐกลันตันในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 ซึ่งอดีตจำเลยคดีระเบิดทั้งสามคนอยู่ในบ้านหลังดังกล่าว หมายเลข 1) กระสุนปืนขนาด.38 2) กล่องเหล็ก 3) ไดนาไมค์ 4) โทรศัพท์มือถือ 5) พาวเวอร์เจล และ 6) แอมโมเนียมไนเตรท
การส่งผู้ร้ายข้ามแดน
นอกจากจะผิดหวังกับคำพิพากษาแล้ว ทางการไทยยังผิดหวังกับความไม่ร่วมมือของทางการมาเลเซียในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนด้วย เจ้าหน้าที่ความมั่นคงอธิบายว่า การส่งกลับนั้นทำได้ 2 ทาง คือ หนึ่ง เป็นการส่งกลับด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งยังคงมีข้อถกเถียงในเชิงกฎหมายว่าไทยกับมาเลเซียนั้นมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Extradition Treaty) ระหว่างกันหรือไม่ ไทยชี้แจงว่า มีโดยการอ้างสนธิสัญญาที่เคยทำไว้กับอังกฤษซึ่งเคยเป็นเจ้าอาณานิคมของมาเลเซีย แต่ฝ่ายมาเลเซียถือว่าไม่มีผลบังคับใช้แล้ว วิธีที่สองคือการผลักดันกลับฐานเข้าเมืองผิดกฎหมาย
เจ้าหน้าที่ความมั่นคงไทยเล่าว่า ทางการไทยส่งคนไปเฝ้าถามทุกวันว่าจะมีการปล่อยตัวจำเลยเมื่อใด แต่ก็ไม่เคยได้รับคำตอบจากทางการมาเลเซีย
“เขาจงใจปกปิด” เจ้าหน้าที่คนเดิมกล่าว
ฝ่ายทหารเองก็พยายามที่จะใช้ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพในการขอให้ส่งตัวกลับมา นายมูฮัมหมัดซิดีและนายมะยูไนได้ถูกปล่อยตัวที่บริเวณชายแดนในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมาโดยทางการไทยไม่ได้รับทราบ ส่วนนายมามะคอยรีหลังจากศาลได้ยกฟ้องและสั่งปล่อยตัว เจ้าหน้าที่มาเลเซียได้นำไปควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจที่ปาเสร์มัส รัฐกลันตัน ปัจจุบันไม่แน่ชัดว่าทั้งสามคนอยู่ที่ใด
หมายเหตุ ... ประวัติศาสตร์ที่ตกค้างภายในประเทศ พี่น้องไทยโปรดดูเพื่อความ “ความรู้เท่าทันก่อนสิ้นชาติ”
https://www.surasiha.com/index.php/2021-04-22-08-03-5/2021-04-22-14-02-12/59-2021-06-05-14-02-09