รัฐธรรมนูญฉบับ “ขบวนการสมคบคิด”
เป้าประสงค์ของคณะราษฎร ๓ นิ้ว คือ การทำลาย ศาสนา พระมหากษัตริย์
- คณะราษฎร พ.ศ.๒๔๗๕ มีเป้าหมายที่จะริดรอดอำนาจที่เป็นอุปสรรค (สถาบันพระพุทธศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์) ให้เหลืออีกเพียงอำนาจเดียวคืออำนาจของคณะราษฎร ๒๔๗๕ เอง
- พลังที่คณะราษฎรกลัวที่สุดคือ พลังทั้ง ๓ ได้แก่ พลังของประชาชน พลังศรัทธาในสถาบันพระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังที่เรียกเป็นคำย่อว่า ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ทำลายศักยภาพของพลังทั้ง ๓
๑. คณะราษฎร ๒๔๗๕ ได้ทำลายศรัทธาของประชาชนที่มีต่อ พระมหากษัตริย์ โดยด้อยค่าพระมหากษัตริย์ (ตามที่ได้ประกาศในข้อที่ ๔ ในหลัก ๖ ประการของคณะราษฎร)
“จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่”
๒. แยกพลังพระมหากษัตริย์กับพลังศรัทธาในพระพุทธศาสนาออกจากกัน
คณะราษฎรก็ได้กระชากพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทั้งหมดมาอยู่ภายใต้อำนาจของฝ่ายบริหารรวมทั้งพระพุทธศาสนา
เมื่อพระพุทธศาสนาหลุดจากอ้อมพระอุระของพระมหากษัตริย์ ความเสื่อมถอยจึงบังเกิดเพราะคณะราษฎร ๒๔๗๕ ได้ทอดทิ้งพระพุทธศาสนาไว้ข้างทางมิได้สนใจใยดีอะไร
พระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงเป็นห่วงในพระพุทธศาสนา แต่พระราชอำนาจไม่มีแล้ว มีแต่พระราชศรัทธาเท่านั้น
พระพุทธศาสนาจึงได้ถดถอย “ด้านสังคม” ก็เกิดความเสื่อมถอยในด้านอัตลักษณ์
นักการเมืองก็มองศัตรูผู้ทำลายพระพุทธศาสนาเป็นหัวคะแนน...สังคมจึงเละเทะดังที่เห็น
ความแตกแยกบังเกิดทั่วทั้งแผ่นดิน “ประชาชนมิใช่คนของแผ่นดิน มิใช่พสกนิกรของพระเจ้าอยู่หัว แต่เป็นประชากรของพรรคการเมือง” เพราะความคลั่งไคล้ประชาธิปไตยที่นักการเมืองรับนโยบายรับใช้มหาอำนาจตอกย้ำผลิตซ้ำจนประชาชนแตกแยกดังที่เป็น
เพราะประชาธิปไตยนี่เอง พรบ.อิสลามจึงได้ประดังผ่านสภาฯมาโดยตลอด เพราะกลัวว่าจะไม่เป็นประชาธิปไตย
๓. คณะราษฎร ๒๔๗๕ ได้ทอดทิ้งพระพุทธศาสนามาโดยตลอดด้วยความกลัวในพลังศรัทธาของประชาชนซึ่งยังมีมาจนถึงรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
จึงเห็นได้ว่าบางรัฐบาลได้ให้โอกาสและยกระดับศาสนาอิสลามให้เท่าเทียมพระพุทธศาสนามาตลอด
หนักที่สุดรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สนับสนุนให้ตั้งมัสยิดให้ครบ ๓ มัสยิด ในแต่ละจังหวัด ตามพรบ.การบริหารกิจการอิสลาม ปีพ.ศ.๒๕๔๐ ของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการอิสลามเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด ตามมาตรา ๒๖ ต่อไปนี้
มาตรา ๒๖ ในจังหวัดที่มีคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ให้คําปรึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับศาสนาอิสลามต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
เพื่อสนับสนุนให้อิสลามจะมีโอกาสสร้างอิทธิพลเหนือพระพุทธศาสนาในทุกๆมิติ ทุกๆจังหวัดทั่วประเทศ
ต่อมาพลังแห่งความจงรักภักดีของประชาชนที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มิได้ลดถอยลงจึงได้ทำลายทางอ้อมผ่านพระพุทธศาสนา
..... (ดังที่ได้ชมการบรรยายของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ จากวิดีโอ “ศรัทธา กับ อำนาจ พระสงฆ์ กับ ทหาร ในมุมคิดของนักวิชาการ โดย อ นิธิ เอียวศรีวงศ์”)
สารปะทุปฏิวัติประชาชน
อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์
วิดีโอ.ที่ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้บรรยายเมื่อเดือน ก.พ. ๒๕๕๘ – ในหัวข้อ “ศาสนากับรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย”
เป็นการบรรยายสาธารณะ จัดโดยกลุ่มสภาหน้าโดม ที่ห้อง ศศ.๑๐๗ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การบรรยายของนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ หัวข้อ “ศาสนากับรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย” ร่วมกับ อ.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ จากวิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์
อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ อดีต เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอนาคตใหม่
กิจกรรมของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ใช้เป็นเวลาก่อตัว สะสม ยัดเยียด และถ่ายทอดอุดมการณ์ล้มพระพุทธศาสนาและ สถาบันพระมหากษัตริย์มาแล้วร่วมสิบปี
ด้อยค่าสถาบันตุลาการผู้ใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
อีกมิติหนึ่ง คือ การด้อยค่าสถาบันตุลาการเพราะการพิพากษาของตุลาการเป็นการปฏิบัติโดยการอาศัยพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์อีกวิธีหนึ่ง ..... (ดังปรากฎในวิดีโอ. “อำนาจที่ ๓”)
ดังนั้น การลดพลังศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนา คณะราษฎร ๒๔๗๕ จึงไม่ได้บรรจุเป็นนโยบายที่จะทะนุบำรุงฯไว้ในหลัก ๖ ประการ
- ถึงแม้ว่า คณะราษฎร ๒๔๗๕ จะทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่สำเร็จแต่ก็ไม่ละความพยายามมาจนถึงบัดนี้