บทวิจารณ์ เนื้อหาจากวิดีโอ

จากวิดีโอ.ที่ได้นำมาเป็นตัวอย่างมีดังนี้

๑. เชื่อฟังคำสั่ง

“การเชื่อฟังคำสั่ง” กรณีบนรถไฟ ก็เป็นเรื่องที่น่าศึกษา คือ

ก. ผู้ถูกขอ (ผู้ถูกรุกราน) เป็นผู้ “มีน้ำใจ” มองว่า “การให้” เป็นเรื่องที่มิได้หนักหนาอะไร

ข. ผู้ถูกขอ (ผู้ถูกรุกราน) เป็นบุคคลที่เดินทางด้วยตัวคนเดียว เมื่อเจอกับผู้ที่ “แสดงความเหนือกว่า” โดยกล้าที่จะขอถึงแม้จะใช้คำที่สุภาพแต่ท่าทีสายตาที่อาจจะบอก “ก้าวร้าวที่จะเอาให้ได้” และผู้ถูกขออยู่ในสภาวะ “จำยอม” จึงยอมให้เพื่อว่าจะได้ไม่เกิดปัญหา

ค. เมื่อได้พบกับผู้ขอ (ผู้รุกราน) มีความเหนือกว่า คือ มีเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจเดินตามหลัง “ผู้ถูกขอ หรือ ผู้ถูกรุกราน” จึงอยู่ในสภาวะต้อง “จำนน

ง. ทั้งสามข้อ...ล้วนแต่เป็นเหตุให้ผู้ที่แสดงความเหนือกว่าเชื่อมั่นในตนเองว่าตนเองวิเศษกว่าใครๆ มีอำนาจเหนือใครๆ ในที่สุดก็เหลิงในอำนาจนั้น

===========================

 


 ๒. สาเหตุของความรุนแรง “พวกเขา พวกเรา”

เรื่องนี้เกิดขึ้นจากการทดลองในโรงเรียนระดับประถมในต่างประเทศ เป็นการทำให้เห็นว่าการแบ่งฝ่าย แบ่ง “พวกเขา – พวกเรา” ทำให้เกิดแรงกดดันด้านจิตใจอย่างรุนแรง และจะกลายเป็นความขัดแย้งและบ่มเพาะความก้าวร้าวให้กับผู้ที่ได้รับสิทธิที่เหนือกว่า

ถ้าจะเปรียบเทียบกับ

ประเทศอินเดีย            การแบ่งชนชั้น มิได้แบ่งจากชนชั้นเดียวกัน สังคมเดียวกัน ความรู้เท่ากัน แต่เป็นการแบ่งตามสายเลือดและอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “วรรณะ” การแบ่งตามวรรณะนั้นเป็นการสอนให้ “จำยอม” ตั้งแต่เกิดมาบนโลกนี้จนกลายเป็นการ “จำนน” และ “ยอมรับ” ในที่สุด

การยอมรับมาจาก

ก. การอบรมให้รับชาตากรรมตั้งแต่ลืมตาดูโลก

ข. วิถีชีวิตยังมีความหวัง เพราะมีพระเจ้าผู้บันดาลสูงสุด ดังนั้นอินเดียจะมีศาสนาและความเชื่อมากมาย และมีการบูชายัญเพื่อความสุขและพ้นทุกข์ด้วยอำนาจของพระเจ้า

ค. รับรู้โดยธรรมชาติว่า...การต่อสู้ และแข็งขืนมิอาจเกิดขึ้นได้เพราะขาดความรู้ ขาดกำลังทรัพย์และกำลังการสู้รบ อีกทั้งสังคมได้จัดระเบียบการลงโทษไว้อย่างรุนแรงในกรณีที่ฝ่าฝืน เช่น

การสมสู่ข้ามวรรณะจะถูกเรียกว่า “จัณฑาล” คนวรรณะนี้จะถูกรังเกียจเหยียดหยามไม่มีคนวรรณะอื่นคบหาด้วย คนวรรณะจัณฑาลจะอยู่ในสภาวะ “จำนน” และกลายเป็นการ “จำยอม”

สรุป เมื่อก้าวข้ามวรรณะไม่พ้น  ก็ไม่คิดจะข้าม สู้อยู่เฉยๆดีกว่า 

ประเทศไทย เคยนำเสนอความคิดในเชิงแบ่งชั้นเช่นกัน จากการรณรงค์ทางการเมืองได้มีการเสนอสิทธิในการลงคะแนนเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของคนในเมืองที่มีการศึกษา กับคนชนบทที่ด้อยการศึกษามีสิทธิไม่เท่าเทียมกัน

เรื่องนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นแม้แต่จะคิด เพราะประเทศไทยพัฒนาความคิดและลิ้มรสประชาธิปไตยมาแล้วกว่า ๘๙ ปี 

============================

 

 

๓. กีฬาเป็นยาวิเศษ ! แต่..ยาวิเศษที่เข้มข้นคือยาพิษ

เดิมวัตถุประสงค์ของกีฬา เป็นการเล่นและแข่งขันกันเพื่อความสามัคคี และ สุขภาพ แต่ต่อมา ความมุ่งมั่นเอาชนะจนขาดสติ

จากนั้นกลายเป็น

  • เกียรติยศของผู้แพ้ที่ถูกบั่นทอนด้วยการ “แสดงความเหนือกว่า” ของผู้ชนะ
  • ความเหนือกว่า ได้สร้าง “ตัวกู ของกู” ขึ้นมาในจิตของผู้ที่เหนือกว่า
  • “การสูญเสียของผู้แพ้” ได้สร้างแรงผลักดันเกียรติยศที่หยามไม่ได้จึง “ขาดสติ” นั่นคือสาเหตุของความรุนแรง
  • ความรู้สึกได้พัฒนาไปสู่แบ่งเป็น “พวกเขา-พวกเรา” ในที่สุด

หมายเหตุ ;      สงครามกลางเมืองเช่น “รวันดา” ก็ได้พัฒนามาจาก “พวกเขา-พวกเรา” ที่ถูกจัดให้โดยมหาอำนาจ

=============================

 

๔. คุกในมหาวิทยาลัย

ความเท่าเทียมในสถานะเพื่อน สร้างความอบอุ่นในมิตรภาพ

มิตรภาพนั้นจางไปทันทีเมื่อหน้าที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

เมื่อมีอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้อง มิตรภาพจะหายไป

อำนาจนั้นยิ่งนานวันจะเริ่มพอกหน้าให้หนาขึ้นเป็นหัวโขน

หัวโขนยิ่งอยู่นานวันสิ่งที่เปลี่ยนคือ ตัวตนเดิมๆจะหายไป จิตก็เปลี่ยน

อำนาจเป็นเงาที่อันตรายที่แทรกเข้าไปในจิตสำนึก มีแต่พุทธธรรม และ สติ เท่านั้นที่จะเอาชนะได้

เรื่องคุกในมหาวิทยาลัย เป็นเรื่องจริง ศาสตราจารย์ ดร.ซิมบาร์โด ต้องล้มโครงการทดลองนี้ภายในเวลาเพียง ๕ วันก่อนเวลาที่กำหนดไว้ ๑๔ วัน

================================

 

๕. ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา

ตอนรัฐบาลเยอรมนี (๒๔๔๐/1897) และเบลเยียม (๒๔๕๙/1916) มายึดครองบริเวณนี้ก็พบว่า เป็นเรื่องง่ายกว่าที่จะให้ชนเผ่าทุตซีทำหน้าที่เป็นคนกลางในการปกครอง เพราะคิดว่ามีลักษณะที่เหนือกว่าพวกฮูตู

ในทศวรรษ ๒๔๗๓/1930 พวกเบลเยียมกำหนดให้ทุกคนต้องทำบัตรประจำตัวที่ระบุว่าใครเป็นเผ่าไหน ยิ่งทำให้ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ชัดเจนขึ้นไปอีก

เมื่อตอนใกล้ได้รับเอกราช ใกล้ๆ ปี ๒๕๐๕/1962 ชนเผ่าฮูตูโค่นล้มพวกทุตซีที่เป็นฝ่ายครองอำนาจ และเริ่มเข้ายึดครองประเทศแทน จากเหตุการณ์รุนแรงเล็กๆ หลายครั้งเริ่มค่อยๆ ขยายวงเป็นการเข่นฆ่ากันและกัน

พวกฮูตูเป็นฝ่ายชนะและสังหารชาวทุตซีไปราว ๒๐,๐๐๐ คน

ชาวทุตซีนับล้านต้องอพยพลี้ภัยไปยังประเทศอื่น

กระทั่งปี๒๕๑๖/1973 นายพลฮาบียาริมานา ชาวฮูตูทำรัฐประหาร แล้วปล่อยให้ทุตซีอยู่อย่างยถากรรมนอกประเทศ

จากนั้นรวันดาเจริญรุ่งเรืองอยู่นาน ๑๕ ปี แต่แล้วด้วยปัญหาภัยแล้งและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างปีศาจที่หิวกระหายทำให้เศรษฐกิจตกต่ำส่งผลต่ออำนาจของท่านผู้นำ

นายพลฮาบียาริมานาจึงถือเอาความพยายามของพวกทุตซีที่จะบุกจากอูกันดากลับบ้านที่เคยอยู่ในรวันดาในปี ๒๕๓๓/1990 มาเป็นข้ออ้างในการจับกุมรวมทั้งสังหารฝ่ายตรงข้ามกับตนเองที่เป็นทั้งชาวฮูตูและทุตซีทั่วประเทศ

สาเหตุความรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินไอพ่นประจำตำแหน่งของท่านประธานาธิบดีถูกจรวด ๒ ลูกยิงตกขณะลงจอด ส่งผลให้ทุกคนในเครื่องบินเสียชีวิต

  • ฮูตูยึดอำนาจ

จากนั้นก็เกิดการยึดอำนาจโดยพวกฮูตูที่มีแนวคิดสุดขั้ว และทำการสังหารชาวทุตซีไปอีกหนึ่งล้านคน มีการแจกอาวุธให้พลเรือนทั่วไปแล้วเรียกร้องให้ชาวฮูตูฆ่า “แมลงสาปทุตซี” ทุกตัว ผลคือชาวทุตซี ๓ ใน ๔ ที่ยังอยู่ในรวันดา(ไม่ได้หนี)ถูกฆ่า

กลุ่มหัวรุนแรงฮูตูก่อตั้งสถานีวิทยุ RTLM และหนังสือพิมพ์เพื่อใช้กระจายข่าวโฆษณาชวนเชื่อ เชื้อเชิญให้คน "ถอนรากถอนโคนแมลงสาบ" ซึ่งหมายถึงชาวทุตซี มีการอ่านรายชื่อเป้าหมายสำคัญ ๆ ออกอากาศ

แม้แต่บาทหลวงและแม่ชีก็ถูกตัดสินโทษฐานฆาตกรรมด้วย เหยื่อบางคนเป็นคนที่เข้ามาขอที่พักพิงในโบสถ์

นี่คือผลลัพธ์ของความเกลียดชังที่ถูกโหมกระหน่ำจากฝ่ายการเมือง โดยเชื่อว่าการรณรงค์ให้ทำลายล้างทุตซีจะช่วยรื้อฟื้นความเป็นปึกแผ่นของฮูตูขึ้นมาใหม่

แต่ละฝ่ายก็ใช้สื่อที่มีอยู่ในมือก็ประโคมข่าวใส่ร้ายกันและกัน

เมื่อโหมความเกลียดชังไปถึงจุดหนึ่ง การใช้อาวุธไล่ล่าเอาชีวิตจากคนอีกกลุ่มหนึ่งในชาติเดียวกันได้โดยไม่รู้สึกว่าเป็นสิ่งน่ารังเกียจ

  • อันที่จริงฮูตูกับทุตซีไม่ได้แตกต่างกันอย่างที่ถูกสร้างภาพให้เป็น

คนทั้งสองชาติพันธุ์พูดภาษาเดียวกัน เข้าโบสถ์เดียวกัน เรียนโรงเรียนเดียวกัน ดื่มที่บาร์เดียวกัน ทำงานที่เดียวกัน อยู่หมู่บ้านเดียวกัน และมีการแต่งงานกันระหว่างฮูตูและทุตซีอยู่เสมอๆ

จากรูปร่างหน้าตาของผู้คนจำนวนมาก ถือว่ายากมากที่จะระบุว่าคนไหนเป็นฮูตูหรือทุตซี

อันที่จริงแล้วทั้งสองกลุ่มอาจสืบทอดเชื้อสายมาจากแหล่งที่มาเดียวกันเลยด้วยซ้ำ

เหตุการณ์นี้มีให้คิด

  • เมื่อประชาชนถูกปั่นให้เกลียดกันเหมือนกับจิ้งหรีด
  • อำนาจการปกครองถูกทำลายด้วยข่าวเท็จที่สร้างขึ้นรายวัน
  • ประชาชนถูกถอดคุณธรรมออกจากจิตสำนึก นั่นคือ “วิกฤติรวันดา”
  • ยังมีที่ใดสักแห่งที่ตกอยู่ในสภาพที่ใกล้จะเหมือนกันด้วยแรงยุจากผู้นิยมมหาอำนาจ

ข้อสังเกตจาก “๕ เหตุสู่ทรราช”

ทุกๆวิชาการเมื่อนำความมั่นคงมาเปรียบเทียบกับวิดีโอ.ทั้ง “๕ เหตุสู่ทรราช” แล้วจะเข้าใว่า

๑. การยึดครอง...ไม่ว่าจะเป็นการอ้างเหตุผลที่สุภาพ หรือไม่สุภาพ ก็คือ การแสดงความเหนือกว่าในลักษณะข่มเป็นปัจจัยในการสร้างความกลัวเพื่อการเข้ายึดครอง ดังเช่น

  • “การขัดขวางการสร้างมัสยิดคือสงครามศาสนา”

๒. การเข้าครองโดยการใช้กฎหมาย ไม่ว่าจะถูกทำนองคลองธรรมหรือไม่! มิใช่เรื่องสำคัญแต่สำคัญที่กฎหมายนั้นผ่านได้มาอย่างไร?

ต่อเมื่อกฎหมายนั้นผ่านออกมามาบังคับใช้มีผลให้เกิด “ความเหนือกว่า” เป็นการสนับสนุนให้คนเลวที่เป็นภัยต่อแผ่นดินกดขี่พี่น้องร่วมชาติจนกระทั่งเกิด “ความกลัว”

โปรดสังเกต

  • “นักโทษไม่ว่าจะผ่านมาสักกี่คุกก็ต้องสยบให้ผู้คุมนักโทษอยู่นั่นเอง” เพราะ...ผู้คุมฯมีเครื่องมือคือกฎหมายสร้างความเหนือกว่าข่มเหล่านักโทษนั้น

บางครั้ง “พวกเขา กับ พวกเรา” เกิดจากการสร้างภาพลวงให้เห็นว่า.. “พวกเรา” สยบให้ “พวกเขา”

เพียงแค่...หลอกล่อให้ใช้หลักการปกครองประนีประนอมยินยอมเขาปฏิบัติตามประเพณีหรือหลักศาสนาของเขาบางข้อเท่านั้น

จากนั้นก็เอาไปโฆษณาสร้างความกลัวให้กับฝ่ายเราได้ว่า

“เห็นมั๊ย ! .... องค์กรฯของท่านสยบเราเรียบร้อยแล้ว”

๓. ผู้ใช้ “ความเหนือกว่าเพื่อการเข้ายึดครอง” สังเกตง่าย คือ ไม่ประนีประนอมกับอัตลักษณ์ของใคร แต่สร้างแรงกดดันให้อีกฝ่ายยอมรับอัตลักษณ์ฝ่ายตนเพียงฝ่ายเดียว

เหนือกว่าทันทีเมื่อใช้องค์กรรัฐเป็นมือที่ ๓

หมายเหตุ  “ปรากฏการจริงเป็นประจักษ์”

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ : website counter