โรฮิงญา หมากบนกระดานสงครามของมหาอำนาจ
ขอเรียนให้ทราบว่า วิดีโอนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นตำรา เพื่อรู้เท่าทันของประชาชนคนไทย
โรฮิงญา หมากบนกระดานสงครามของมหาอำนาจ ตอนที่ ๓
๙๖๙ - ๗๘๖ สองเลขปริศนากับ ๒ ศาสนา
วัฒนธรรมของชาวพุทธในพม่า ที่มีรหัสหมายเลข ๙๖๙ อยู่ในหัวใจ ได้บอกถึงความเท่าทันในศรัทธาพระพุทธศาสนาของชาวพม่า ขณะที่ มุสลิมในพม่ามีหมายเลข ๗๘๖
ความหมายของเลข ๙๖๙ ที่ชาวพุทธควรรู้ ท่านเชื่อไหม? ชาวพุทธในประเทศไทยไม่ได้เรียนกันเลย เป็นการบอกกึ๋นและความเหมาะสมของกระทรวงศึกษาธิการ
ที่จะดูแลการศึกษาและความมั่นคงของประชาชนในอนาคตของชาติได้อย่างชัดเจน
ดังนั้น ต้นเหตุก็มาจากกระทรวงศึกษาธิการนี่เอง
- พระพุทธคุณทั้ง ๙
๑. อรหํ
๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ
๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
๔. สุคโต
๕. โลกวิทู
๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
๘. พุทฺโธ
๙. ภควา
- พระธรรมคุณทั้ง ๖
๑. สวากขาโต ภควตา ธัมโม
๒. สันทิฏฐิโก
๓. อกาลิโก
๔. เอหิปัสสิโก
๕. โอปนยิโก
๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
- สังฆคุณทั้ง ๙
๑. สุปฏิปันโน
๒. อุชุปฏิปันโน
๓. ญายปฏิปันโน
๔. สามีจิปฏิปันโน
๕. อาหุเนยโย
๖. ปาหุเนยโย
๗. ทักขิเณยโย
๘. อัญชลีกรณีโย
๙. อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ
หลังจากที่พม่าได้รับอิสระภาพจากอังกฤษ
วันที่ ๔ มกราคม ค.ศ.1948/๒๔๙๑ พม่าได้สถาปนาชื่อประเทศว่า "สหภาพพม่า" (Union of Burma)
ประชาชนชาวพม่าอยู่ในสภาวะที่เหมือนกับคนที่เพิ่งตื่นนอน รู้สึกว้าเหว่เพราะไม่มีพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพม่าแล้ว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ถ่ายทอดความรู้สึกของการเป็นเมืองขึ้นต่างชาติเป็นพระราชนิพนธ์ไว้ว่า
ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง คงจะต้องบังคับขับไส
เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย
อันดับแรก...พระมหากษัตริย์ที่เคยมีกลับไม่มีแล้ว
อันดับต่อมา...ชาวพม่าไม่มั่นใจใจอนาคตของตนเองว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
ยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึง จึงสงบ
นับเป็นความฉลาดของนายอูนุ นายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่าที่ได้ยกพระพุทธศาสนา เป็นศูนย์รวมหัวใจของประชาชนชาวพม่า มิได้ยกประชาธิปไตยเป็นสรณะเหมือนไทยมิฉะนั้นป่านนี้แตกกระจายเป็นเศษธุลีไปแล้ว
เราจึงได้เห็นความก้าวหน้าของการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า ที่รัฐบาลให้การสนับสนุนการศึกษาพระพุทธศาสนาแก่พระสงฆ์
ความรู้ในพระไตรปิฎกของพระสงฆ์พม่า เป็นความรู้ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพเพียงพอที่ขจัดความขัดแย้ง และยากที่จะยกความเท่าเทียมตามหลักประชาธิปไตยซึ่งเป็นศาสตร์นอกวิถีธรรม ที่ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้
ซึ่งมีกรณีตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น...นักเรียนนำพระพุทธรูปมาวาดเป็นตัวการ์ตูน
อีกทั้งภิกษุสงฆ์และประชาชนชาวพม่ามีความยึดมั่น และมุ่งมั่นในการศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา
พม่าได้จัดให้มีการสอบพระไตรปิฎกทุกปี
มีพระสงฆ์ที่มุ่งเรียนและมีความตั้งใจจดจำพระไตรปิฎกทั้งหมดทุกตัวอักษรรวมทั้งความหมายและสอบผ่านไล่ลำดับปิฎก คือ ระดับผู้ทรงจำฯที่สอบผ่าน ๑ ปิฎกบ้าง ๒ ปิฎกบ้างก็มีอยู่ จนกระทั่งเดี๋ยวนี้มีพระผู้ทรงจำที่สามารถจำพระไตรปิฎกได้ ๓ ปิฎกที่ยังมีชีวิตอยู่มากกว่า ๑๔ รูป
สนามสอบพระผู้ทรงจำพระไตรปิฎก ก็คือสถานที่เคยใช้สังคายนาพระไตรปิฎก คือ ที่ถ้ำกะบาเอ้ อำเภอมะยันกุน จังหวัดย่างกุ้ง
เมื่อลำดับห้วงเวลาระหว่างการสังคายนาพระไตรปิฎก กับ การเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษจนกระทั่งได้รับอิสระภาพเป็นดังนี้
พ.ศ.๒๔๑๔พม่าสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรก
พ.ศ.๒๔๒๙ พม่าเสียเมืองให้อังกฤษครั้งแรก
พ.ศ.๒๔๙๑ พม่าได้รับอิสระภาพจากอังกฤษ
พ.ศ.๒๔๙๗ พม่าสังคายาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๒
จะเห็นได้ว่า พม่ามีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ก่อนที่เสียเมืองให้อังกฤษ
ถ้ำกะบาเอ้จะถูกจัดให้เป็นสนามสอบพระผู้ทรงจำพระไตรปิฎกทุกๆปี สภาพสนามสอบภายในถ้ำจะได้เห็นในวิดีโอ.
สรุปให้คิด
- จะเป็นเพราะพม่าเคยผ่านประสบการณ์เคยเป็นเมืองขึ้น เคยถูกกดขี่ “ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย” หัวใจที่กลัดหนองจากแผลที่ถูกมหาอำนาจใช้อำนาจกดทับ โชคดี ! ... พม่าได้ยารักษาแผล ขนาดเอกคือ “พุทธธรรม”
- พม่ารู้จัก ๙๖๙ แต่ไทยไม่รู้ นั่นเป็นการบอกให้รู้ว่านั่นไม่แปลก ที่ “เด็กรุ่นใหม่ปะทะกับคนรุ่นเก่า” ปรับปัญหา และทำความเข้าใจกับสังคมและการเมืองไม่สมดุล (ก็คือคุยกันไม่รู้เรื่อง) แม้กระทั่งคนรุ่นใหม่อย่างคุณช่อ ยังคิดว่า ๙๖๙ คือ ขบวนการก่อการร้ายเลย
ความรู้เท่าทันเท่านั้นที่จะรักษาพรหมจรรย์แห่งธรรมไว้ได้
ถึงแม้จะคนละศาสนาแต่ถ้าคุยกันเรื่องธรรมชาติ หรือ ธรรมะที่รู้เรื่อง เข้าใจกันได้ก็เป็นพี่น้องกันได้มิใช่หรือ ?
ปัญหาการคบกันไม่ได้เริ่มตั้งแต่เริ่มใช้ “กลยุทธ” นั่นหมายความว่า “คิดไม่ซื่อในมิตรภาพ” ที่ซ่อนเล่ห์กลคิดหวัง “รุกฆาต และ ยึดครอง” ผู้ที่รู้เท่าทันเท่านั้นที่จะรักษา “อัตลักษณ์” ของตนเองไว้ได้
การรุกฆาต และ ยึดครอง มิใช่เริ่มด้วยการใช้กำลังทหาร แต่เป็นการรุกทาง วัฒนธรรม สร้างความเคยชินในอัตลักษณ์ของตนเองให้กับคนต่างศรัทธา ขณะเดียวกันก็รุกคืบไปเรื่อยๆจนเปลี่ยนจากความเคยชินเป็นการยอมรับ เช่นเดียวกับเสียงอาซานที่คนไทยได้ฟังวันละ ๕ เวลาจนชิน แต่มีบางคนรู้สึกรำคาญไม่สามารถทนฟังเสียงระฆังของวัดได้
จากบทเกริ่นนำนี้ให้สาระ เพื่อนำไปคิด พิจารณา ที่เหลืออยู่ที่ประชาชนเข้าใจ และ รู้เท่าทันหรือไม่ ?
ยังมีอีกมากให้ศึกษาในวิดีโอ. เชิญครับ